Lathe and Milling



รายละเอียด


มาแล้ว!  วิชาทักษะทางด้านช่าง ที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบสร้างสิ่งประดิษฐ์ วิชา กลึงและมิลลิ่ง เป็นทักษะการสร้างชิ้นส่วนโลหะที่จะทำให้ออกมาได้รูปร่างที่ต้องการ เทคนิคการกลึงคือ การนำเหล็กที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกมาจับด้วยเครื่องกลึง แล้วหมุนชิ้นงานจากนั้นจะใช้มีดกลึงซึ่งมีความแข็งมากกว่าเหล็กหลายเท่ามากัดให้ชิ้นงานออกมาเป็นรูปทรงที่ต้องการ โดยสามารถควบคุมความละเอียดของขนาดได้ในระดับ 0.01 mm. จะได้ขนาดที่แม่นยำตามต้องการ เช่นเดียวกันกับเทคนิคการมิลลิ่ง คือการกัดชิ้นงานออกมาให้ได้รูปทรงที่ต้องการ โดยใช้ดอกเอ็นมิล ซึ่งมีหน้าตาคล้ายดอกสว่านแต่ฟันจะถูกตัดให้แบนเมื่อกัดชิ้นงานออกมาแล้วจะได้งานออกมาเรียบเนียน โดยลักษณะงานจะเน้นการกัดงานที่ไม่ใช้ทรงกระบอก เช่น งานที่เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมหรือรูปร่างอื่นๆ โดยทั้งสองเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ใช้งานทั่วไปสำหรับการสร้างชิ้นส่วนจริงในอุตสาหกรรมตั้งแต่มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ ไปจนยานอวกาศ ดังนั้นใครเรียนจบแล้ว ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างสิ่งประดิษฐ์ได้ตามต้องการ

ยกตัวอย่างงานกลึง เช่น การสร้างปากกาทองเหลือง 1 แท่ง เพียงแค่นำแท่งทองเหลืองตันขนาดประมาณ20 mm. มาจับด้วยเครื่องกลึง จากนั้นก็กลึงปาดหน้าแนวตัดของทรงกระบอกให้เรียบ แล้วปอกผิวดิบออกประมาณนึง จากนั้นเจาะนำศูนย์ด้วยดอก center drill แล้วตามด้วยดอกสว่านเพื่อให้ได้รูที่ต้องการจากนั้นกลึงปอกให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปากกาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วตัดด้วยมีดตัดนำชิ้นที่ตัดแล้ว สลับฝั่งเพื่อเจาะรูให้พอดีกับหัวปากกา เมื่อได้รูที่ต้องการแล้วก็จะใช้เทคนิคกลึง Taper เพื่อให้ปลายปากกาที่เรียว เมื่อได้รูปทรงด้ามหลักแล้ว เราจะทำการต๊าปเกลียวในด้วยดอกต๊าปเพื่อใช้สำหรับปิดฝา จากนั้นเราจะกลึงฝาบนของปากกาเพื่อปิดรูสำหรับสวมไส้ปากกา โดยกลึงให้ได้ขนาดที่ต้องการจากนั้นกลึงเกลียวตามขนาดเกลี่ยวเดียวกับดอกต๊าป 

ยกตัวอย่างงานมิลลิ่ง เช่น ที่จับมือถือที่สามารถวางบนขาตั้งกล้องด้วย ชิ้นส่วนจะเป็นลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นเราจะใช้แท่งเหล็กสี่เหลี่ยมมากัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ เริ่มจากการเลื่อยให้ได้ขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย จากนั้นใช้ดอกเอ็นมิลกัดชิ้นงานจนได้ขนาดที่ต้องการ เนื่องจากที่จับมือถือสามารถเลื่อนไปมาเพื่อปรับความหนา จึงมีชิ้นส่วนที่เป็นลักษณะเกลียวติดอยู่ด้วย จุดนี้ต้องใช้เครื่องกลึงช่วยสำหรับการกลึงเกลียว เจาะรูให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วใช้ดอกต๊าปเกลียวต๊าปให้ได้รูเดียวกับขนาดเกลียว นำชิ้นส่วนทุกชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน จากนั้นเจาะรูสำหรับยึดกับขาตั้งกล้อง ซึ่งเป็นเกลียวมาตรฐาน ใช้ดอกต๊าปเกลียวทำรูให้เป็นเกลียวเป็นอันเสร็จ 

สามารถเลือก Workshop ได้สำหรับสร้างผลงานกลับบ้าน


      -ที่จับมือถือสำหรับวางบนขาตั้งกล้อง 

      -ปากกาลูกลื่นเหล็ก

      -โคมไฟอ่านหนังสือติดบนหัวเตียง

      -กล่องใส่ปากกา

      -กระปุกออมสินเล็ก

      -อื่นๆ อยากทำอะไรสอบถามลุงได้

วิชางานกลึงและมิลลิ่งเรียนอะไรบ้าง?

      -เครื่องกลึงคืออะไร?

      -ส่วนประกอบของเครื่องกลึง

      -เรียนรู้ว่าเครื่องกลึงกับเครื่องมิลลิ่งต่างกันอย่างไร?

      -เทคนิคการวัดแบบละเอียดด้วย vernier caliper, micrometer

      -การตั้งศูนย์ชิ้นงานด้วย Dial Gauge

      -หัวจับชิ้นงานมีกี่ประเภท 

      -การใช้หัวจับแบบ 3 จับ 4 จับ

      -การเลือกความเร็วให้เหมาะกับวัสดุ

      -ประเภทของมีดกลึง

      -การลับมีดกลึง

      -การปรับองศาป้อมมีด

      -กลึงปาดหน้า

      -กลึงปอกผิว

      -การเดินฟีดอัตโนมัติ

      -กลึงเทเปอร์

      -กลึงเกลียวซ้ายขวา

      -คว้านรูใน

      -ตัดชิ้นงานด้วยเครื่องกลึง

      -การเจาะนำศูนย์

      -การเจาะด้วยดอกสว่าน

      -การยันศูนย์ชิ้นงาน

      -การกลึงงานที่มีขนาดยาว

      -การต๊าปเกลียวใน

      -การต๊าปเกลียวนอก

      -การกลึงชิ้นงานสี่เหลี่ยมให้กลายเป็นทรงกลม

      -การกัดลาย

      -การใช้รีมเมอร์ 

      -เครื่องมิลลิ่งคืออะไร?

      -ประเภทเครื่องมิลลิ่ง

      -ส่วนประกอบเครื่องมิลลิ่ง

      -การตั้งศูนย์ปากกาจับชิ้นงานด้วย Dial Gauge

      -การเจาะแบบอัตโนมัติ

      -การใช้งานคอลเลตจับดอกเอ็นมิล

      -การอ่านตัวเลขดิจิตอลผ่านลิเนียร์สเกล

      -การคำนวณเจาะรูรอบวงกลม

      -การเซ็ตศูนย์ชิ้นงานด้วย edge finder

      -การเดินแบบอัตโนมัติ

      -การใช้หัวปาดหน้าชิ้นงาน

      -การใช้โต๊ะปรับองศาเจาะรู

      -การใช้ jig, fixture 

      -การใช้งานเครื่องมิลลิ่งสำหรับปาด

      -การใช้งานเครื่องมิลลิ่งแบบล้อเดี่ยว

      -การสร้างเฟืองด้วยเครื่องมิลลิ่ง

      -การกัดงานรูปทรง 6 เหลี่ยมทำหัวน็อต

      -การกัดงานโค้งด้วยโต๊ะปรับองศา

      -การหาศูนย์ชิ้นงานที่เป็นรู

      -การลับดอกเอ็นมิล ดอกสว่าน

      -การใช้หัวคว้านรู

      -การปรับหัวเจาะให้เอียงตามองศาที่ต้องการ

      -การเจียรูในชิ้นงาน


ลักษณะการเรียน: เรียนสดที่ช็อปลุง 2 วันเต็ม + เรียนผ่านคลิปวิดีโอในกลุ่มเฟสบุ๊ค + แถมชั่วโมงการทำงานที่ช็อป 100 ชั่วโมงสำหรับการฝึก เก็บชั่วโมงไว้ได้ตลอดปี 2024 สามารถนำวัสดุและงานมาทำได้เลยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม


สถานที่เรียน : Uncle labs Blacksmith สาทร  ถนน จันทร์ 16 (ใกล้ bts เซนหลุยต์)


https://maps.app.goo.gl/XGgojink2LPi6G4a7


<<< ค่าลงทะเบียน (ปกติ 7,000) >>>

- บุคคลทั่วไป 3500 บาท


ชำระค่าใช้จ่ายผ่านทางบัญชีนี้ช่องทางเดียวเท่านั้น

----------------------------

บัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขา สยามพารากอน

ชื่อบัญชี: บริษัท คอนส์ โรโบติกส์ จำกัด

เลขบัญชี: <<<< 855-0-65158-5 >>>>

หรือ พร้อมเพย์ 0105561008411 ชื่อบัญชี: บริษัท คอนส์ โรโบติกส์ จำกัด

*** QR Code ในโพสเตอร์คือลิ้งค์สมัคร ไม่ใช่ลิ้งค์ชำระเงิน

----------------------------

ขั้นตอนการสมัคร

1- ชำระค่าใช้จ่ายตามประเภทที่สมัคร

2- กรอกรายละเอียดทางฟอร์มนี้พร้อมแนบสลิปชำระค่าลงทะเบียน: https://uncle-engineer.com/course/lathe-milling

3- รอรับอีเมลยืนยันภายใน 24 ชั่วโมง (หากเกินให้ทัก inbox อีเมลของท่านอาจพิมพ์ผิด หรืออยู่ในสแปมเมล์ )

-------------------

ราคาปกติ:

7000 บาท

ส่วนลดบุคคลทั่วไป ลด 73% เหลือ:

1900 บาท


สมัครเรียนกรอกแบบฟอร์มทางนี้

กรอกข้อมูลแล้ว
จำเป็นต้องกรอก
กรอกข้อมูลแล้ว
จำเป็นต้องกรอก
กรอกข้อมูลแล้ว
จำเป็นต้องกรอก
กรอกข้อมูลแล้ว
จำเป็นต้องกรอก

เฉพาะนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา
จำเป็นต้องอัพโหลด

วิธีการชำระเงิน
โอนผ่านธนาคาร
บัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขา สยามพารากอน
ชื่อบัญชี: บริษัท คอนส์ โรโบติกส์ จำกัด
เลขบัญชี: 855-0-65158-5
โอนผ่าน Promptpay
0105561008411 ชื่อบัญชี: บริษัท คอนส์ โรโบติกส์ จำกัด
Scan QR Code ผ่าน app ธนาคาร
อัพโหลดแล้ว
จำเป็นต้องอัพโหลด